Back

ฉลาม เจ้าแห่งน่านน้ำ ที่นับวันยิ่งใกล้สูญพันธุ์เพราะมนุษย์

ฉลาม สัตว์ทะเลดุร้ายที่ผู้คนต่างมีความเชื่อว่ามันกินเนื้อมนุษย์ แต่แท้จริงแล้ว มนุษย์เองต่างหาก ที่น่ากลัวและอันตรายยิ่งกว่าฉลาม

ฉลามคือสัตว์แห่งท้องทะเลที่มีความดุร้ายมาก แต่แท้จริงแล้ว น้องไม่ได้ทำร้ายมนุษย์ ยกเว้นเพียง 3 ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือฉลามขาว ฉลามเสือ และฉลามหัวบาตร ที่น้องมักจะเข้าใจผิดว่ามนุษย์คือแมวน้ำ หรือสัตว์ทะเล หรือบางครั้งที่น้องมีอาการดุร้ายตามธรรมชาติของสัตว์ อาจเพราะได้กลิ่นของเลือดจนทำให้น้องเกิดการคลุ้มคลั่งได้

จึงไม่อยากให้ทุกคนมีภาพจำผิด ๆ ว่าฉลามทำร้ายมนุษย์ หรือกินคน
และไม่อยากให้มองว่า การบริโภคฉลามเป็นเรื่องปกติที่คนทั่วไปทำกัน

ฉลามกับเมนูระดับจักรพรรดิ แต่ฆ่าสัตว์ไปหลายตัว

มนุษย์ ฆ่าฉลาม 80 ล้านตัวต่อปี แม้จะมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้มนุษย์จับฉลามน้อยลงเลย ซ้ำร้าย ในตลาดกลับมีเนื้อฉลามใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาแทน การบริโภคหูฉลามยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้สร้างความตระหนักรู้ต่อผู้คนต่อไป

ฉลาม

ยิ่งไปกว่านั้น ปกติแล้วคนที่ทานหูฉลาม ชาวประมงมักจะตัดครีบของฉลามออกมา และทิ้งตัวปลาฉลามไป แต่อีกสิ่งที่คนมักไม่ค่อยรู้และไม่เป็นที่นิยมคือการนำเนื้อฉลามมาทาน ทั้งแบบสดและแบบปรุงสด 

กฎหมายการห้ามล่าฉลาม แท้จริงแล้วไม่ใช่ทุกประเทศที่มีการออกกฎหมายข้อนี้ เพราะไม่ใช่ฉลามทุกสายพันธุ์ที่จะอยู่ในบัญชีสัตว์ที่ ‘ห้ามล่า’ เพราะส่วนใหญ่จะห้ามล่าเฉพาะสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์เท่านั้น ดังนั้น ฉลามสายพันธุ์อื่น ๆ จึงถูกล่าได้เหมือนปลาปกติ และนั่นหมายความว่าล่าเอาครีบมาทำหูฉลามขายให้ประเทศที่กิน ‘หูฉลาม’ ก็ยังเป็นเรื่องที่ทำได้อยู่ (ในไทย การบริโภคฉลาม ก็ไม่ได้ผิดกฎหมายนะ)

กินฉลาม = สะสมสารพิษในร่างกาย

ฉลาม เป็นสัตว์ที่สะสมสารพิษในปริมาณเข้มข้นตลอดช่วงชีวิตของมัน เนื่องจากสัตว์ที่ฉลามกินเป็นอาหาร ก็มักจะทานปลาเล็กปลาน้อย ที่มีการดูดซับสารพิษโลหะหนักไปแล้วส่วนหนึ่ง เช่น ปรอท แคดเมียม สารหนู เมื่อฉลามทานปลา เราทานฉลามต่อ ก็จะส่งผลให้ร่างกายของเราสะสมสารเหล่านี้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง รอยโรคที่ผิวหนัง โรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท 

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบสาร beta-Methylamino-L-ala-nine หรือ LMAA ในตัวอย่างครีบและกล้ามเนื้อฉลาม ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบประสาทอย่างอัลไซเมอร์ และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) อีกด้วย

ฉลามช่วยให้เกิดการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

เนื่องจากฉลามคือราชาแห่งท้องทะเล และนับวันจำนวนของฉลามแต่ละสายพันธุ์ ยิ่งมีจำนวนน้อยลง ความสวยงามที่ผู้คนจะได้พบเห็น จึงน้อยลงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฉลามหูขาว ฉลามหัวค้อนสีน้ำเงิน ฉลามหัวค้อนยักษ์ 

หากทะเลที่ไหนมีฉลามเหล่านี้ผู้คนที่รักสีสันแห่งท้องทะเลก็มักจะต้องไปเยือนสักครั้ง ทำให้การท่องเที่ยวของประเทศนั้น ๆ เติบโตยิ่งขึ้น เช่น มัลดีฟส์ ที่ฉลามถือเป็นแรงจูงใจลำดับแรก เพราะนักท่องเที่ยวจะได้เห็นฉลามบ่อยครั้งที่ไปเยือน

ฉลาม ช่วยรักษาระบบนิเวศ

ฉลาม

นอกจากจะเป็นผู้ล่าสูงสุดในพีระมิดอาหารแล้ว ฉลามยังช่วยควบคุมดูแลระบบนิเวศ ช่วยล่าปลาอ่อนแอ ทำให้เหลือแต่ปลาแข็งแรง ถือเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในยุคโลกร้อนทะเลแปรปรวน และเป็นการรักษาระบบนิเวศให้ดำรงอยู่ได้อย่างถูกต้อง แล้วมีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ท้องทะเลสมดุล

บทบาทของฉลามมีความสำคัญทั้งต่อระบบนิเวศทางทะเล และสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยให้ประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากความสมดุล และความหลากหลายทางชีวภาพ แต่ยังให้ประโยชน์แก่ชุมชนจากการท่องเที่ยวทำให้เกิดรายได้ และเศรษฐกิจหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่

Facebook: ECOLIFE

Website: คิดคิด / ECOLIFE

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy