Back

ทิ้ง ทู แทรช ให้การแยกขยะเป็นเรื่องง่าย เริ่มจากในองค์กร

ทิ้ง ทู แทรช โครงการแยกขยะ จาก กลต. และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ให้การแยกขยะเป็นเรื่องง่าย โดยเริ่มจากในองค์กร

อย่างที่เรารู้กันว่าภาวะโลกร้อน คือมหัตภัยที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุด เป็นสภาวะที่ยากที่จะรักษาและส่งผลกระทบร้ายแรงไปทั่วทุกภาคส่วน และนับวันยิ่งทวีคูณความร้ายแรงมากยิ่งขึ้นไป

ภาวะโลกร้อนในยุคแรก

ภาวะโลกร้อน

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2551 หรือราว ๆ สิบกว่าปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน เริ่มเป็นที่ตระหนักรู้ในกลุ่มผู้คนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และน้ำแข็งขั้วโลกละลาย สิ่งเหล่านี้นับเป็นปรากฏการณ์ในช่วงแรงของภาวะโลกร้อน ก่อนที่จะขยับมาเป็น “ภาวะโลกเดือด” ในปัจจุบัน

“ใช่ว่าที่ผ่านมามนุษย์ไม่พยายาม แต่มีเพียงส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญ”

หลัก 7R คือสิ่งที่เราถูกสอนให้ปฏิบัติกันเพื่อช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โดยจะประกอบด้วย Reduce, Reuse, Refill, Return, Repair, Replace และ Recycle ที่จะช่วยลดการผลิตใหม่ ลดการปล่อยก๊าซจากภาคอุตสาหกรรมสู่ชั้นบรรยากาศ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก รวมไปถึงการแยกขยะ เพื่อให้กระบวนการกำจัดเป็นไปได้อย่างถูกวิธี

ทว่า ยังมีน้อยคนที่ตระหนักและหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราบางคนก็ยังคงใช้ชีวิตดังเช่นทุกครั้ง ใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ทิ้งขยะไม่ลงถัง ไม่แยกขยะ และอีกมากมายที่เรามองว่ามันยังเป็นเรื่องไกลตัว

แยกขยะ

การแยกขยะ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยาก

การแยกขยะนั้นเชื่อได้เลยว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างปฏิบัติกันยาก แม้เราจะมองว่าก็แค่แยกขยะไม่ใช่เหรอ? แต่ในหลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ ที่ ก็ทำเอาเราสับสนมากกว่าจะเข้าใจ 

คนไทยส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยแยกขยะกันสักเท่าไหร่ เนื่องมองว่าเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกทั้งถังขยะแต่ละจุด ก็มีสัญลักษณ์การทิ้งไม่เหมือนกัน บางที่ถังรีไซเคิลทิ้งแก้วพลาสติกได้ แต่บางที่เป็นถังรีไซเคิลเช่นเดียวกัน แต่กลับทิ้งแก้วพลาสติกไม่ได้

แยกขยะ

การที่ถังขยะแต่ละที่มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกไม่เหมือนกัน ก็สามารถสร้างความเข้าใจผิดให้กับคนที่ต้องการจะทิ้งได้อีกด้วย ดังนั้นแล้วหากเราจะโทษว่าคนส่วนใหญ่ไม่ยอมแยกขยะก็คงเป็นเรื่องที่ผิด เพราะการจัดการเรื่องของการแยกขยะ และการให้ความรู้ในเรื่องนี้ยังเบาบางอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังไม่มีการเอื้ออำนวยความสะดวกในการทิ้งให้คนทิ้งกันง่าย ๆ อีกด้วย

เริ่มต้นที่องค์กร จบที่ตัวเรา

เพราะเรามองเห็นถึงความสำคัญ และคาดว่าการเริ่มต้นในองค์กร จะช่วยเสริมสร้างนิสัยการแยกขยะ จนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ บ. คิด คิด จึงได้ร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาระบบ ในโครงการ “ทิ้ง ทู แทรช” (Ting To Trash) แยกขยะโดยใช้ Software ช่วยเก็บข้อมูล ที่นอกจากจะช่วยเก็บข้อมูลการคัดแยกขยะแล้ว ยังเป็นส่วนที่ช่วยให้พนักงานในองค์กรเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะได้มากขึ้น

ที่ผ่านมาทางคิด คิด เราได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับใช้เก็บข้อมูลการแยกขยะ และนำมาคำนวณเป็นจำนวนคาร์บอน ซึ่งระยะแรกได้นำร่องกับมหาลัยชั้นนำในประเทศไทย พบว่าได้รับกระแสตอบรับ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนิสิตและนักศึกษาไปในทิศทางที่ดี เพื่อที่จะสามารถขยายผลให้เป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น การร่วมมือกับทาง กลต. และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย จึงถือเป็นอีกการริเริ่มที่ดี

ทิ้งทูแทรช

และเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแยกขยะในองค์กรเป็นประจำ จะนำไปสู่การต่อยอด สร้างเป็นนิสัยใหม่ที่พนักงานทุกคน จะนำหลักความรู้และการแยกขยะแบบนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน หรือแหล่งท่องเที่ยวใด ๆ ก็ตาม พร้อมทั้งส่งต่อเรื่องราวดี ๆ เหล่านี้สู่ผู้คนรอบข้าง เพื่อสร้างสังคมสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ทิ้ง ทู แทรช โครงการที่อยากให้ทุกคนหันมาแยกขยะมากยิ่งขึ้น

บริษัท คิด คิด จำกัด เราเป็นผู้ให้บริการด้าน Sustainability innovation Agency ที่ต่อยอดและพัฒนาความต้องการของบริษัทเครือข่าย ให้สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ ในแบบฉบับไลฟ์สไตล์ของแต่ละองค์กร ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการแยกขยะ “ทิ้งทูแทรช” (Ting To Trash) จากการร่วมมือกันระหว่าง กลต. และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย

โดยโครงการในครั้งนี้ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีความรู้เข้าใจในวิธีแยกขยะที่ถูกต้อง และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เริ่มต้นดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเรื่องการแยกขยะในรูปแบบรายงาน 56-1 One Report โดยมีบริษัทจดทะเบียนจำนวน 121 แห่งเข้าร่วม 

ซึ่งทุก ๆ ครั้งที่มีการแยกขยะ และสแกน QR Code ผ่านแพลตฟอร์ม ECOLIFE จะมีการบันทึกกิจกรรมการแยกขยะของบริษัทจดทะเบียน โดยข้อมูลการแยกขยะเหล่านั้น จะถูกคำนวณเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (kg.co20) ที่บริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดได้ ตามสูตรการคำนวณขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

ในอนาคตเราหวังเป็นอย่างมาก ว่าเราจะสามารถต่อยอดโครงการดี ๆ เช่นนี้ ได้อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่า..

“การเริ่มต้นที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะสามารถต่อยอดและแพร่ขยายไปในวงกว้างได้”

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่
Facebook: KidKid Co.,Ltd
Website: คิดคิด / ECOLIFE
E-mail: [email protected]
Tel: 084-281-1451

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy