Back

SDG5 บอกเล่าความเข้าใจผ่านบทเพลงแร็ป-ฮิปฮอป

SDG5 หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ ด้วยเป้าหมายที่มากมาย แต่กลับมีเพียงคนส่วนน้อยที่จะเข้าใจ และให้ความสำคัญกับมัน ดังนั้นเราจะทำอย่างไร ให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่ายและกระชับมากยิ่งขึ้น

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ หรือ SDGs 17 (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกหลังปี 2015 ที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

แต่ด้วยเป้าหมายหลักจำนวน 17 ข้อ และเป้าหมายแยกย่อยที่มีอีกมากมายจนยากที่จะจำได้ การที่เราจะเผยแพร่ข้อมูลในส่วนนี้ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญคงเป็นเรื่องที่ออกจะยากไปเสียหน่อย เพราะหากเราจะมาบรรยายหรืออธิบายให้เข้าใจโดยทั่วกัน คงจะคล้ายคลึงกับการเลคเชอร์ที่ออกจะน่าเบื่อไปเสียด้วยซ้ำ..

ยุคสมัยเปลี่ยนไป การนำเสนอก็เปลี่ยนตาม 

SDG5

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มที่จะหันมาเสพเรื่องราวได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ การเล่าเนื้อหาที่ยาว แต่ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจของผู้คน ก็มักจะไม่ได้รับความสนใจ และออกจะเบื่อหน่าย ขนาดที่ว่าตัวเราเองยังต้องปัดผ่าน จึงไม่เป็นเรื่องที่แปลกเลยหากวิดีโอสั้น หรือ Reels ต่าง ๆ จะได้รับความนิยมมากกว่าคลิปยาว ๆ ที่เราชอบดูกันเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา เราจึงต้องหาวิธีสร้างการรับรู้และความเข้าใจ ในรูปแบบที่เข้าถึงได้ และย่อยง่ายมากกว่าเดิม แต่ขณะเดียวกันจะทำอย่างไรให้เราสามารถถ่ายทอดเรื่องที่เข้าใจได้ยาก ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

แร็ป-ฮิปฮอป แนวเพลงสะท้อนสังคม

อย่างที่เราเข้าใจกันดี เพลง แร็ป-ฮิปฮอป มักเป็นแนวเพลงที่พูดอย่างตรงไปตรงมา ใช้คำพูดกับเสียงเพลง บอกเล่าตัวตนและสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกมาได้มากกว่าแนวเพลงอื่น ๆ ซึ่งแร็ปเปอร์ส่วนใหญ่ มักจะใช้ความสามารถของตนเองและแนวเพลงประเภทนี้ในการบรรยายเนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคมต่าง ๆ ทั้งด้านการทุจริตและเอาเปรียบของกลไกรัฐ ความรุนแรง ยาเสพติด ปัญหาการเมืองและการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ

Lana Michele หรือที่รู้จักกันในนาม MC Lyte แร็ปเปอร์หญิงเดี่ยวคนแรกของโลก ได้ออกอัลบั้ม “Lyte As A Rock” ในปี 1988 ซึ่งเป็นหนึ่งใน 100 อัลบั้มเพลงแร็ปที่ดีที่สุดจากนิตยสารดนตรี The Source ซึ่งการเกิดแร็ปเปอร์หญิงผิวสีจากที่เคยมีแต่แร็ปเปอร์ชาย เป็นการสะท้อนถึงการยอมรับสิทธิเสรีภาพและความสามารถของสตรีผิวดำในสังคมดนตรีอเมริกามากขึ้น

คิด คิด เราจึงมองเห็นว่า แนวเพลงแร็ป-ฮิปฮอป คือแนวเพลงที่เหมาะสมต่อการเล่าเรื่องราว และสื่อความหมายของ SDG5 ที่พูดถึงความเท่าเทียม และเสมอภาคได้เป็นอย่างดี จึงก่อให้เกิดเป็นเพลง “SDG 5” โดยได้แร็ปเปอร์หญิงมากความสามารถอย่าง “CYANIDE” มาช่วยเล่าเรื่องราวที่ยาก ให้สามารถเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

กว่าจะมาเป็น “SDG 5 – CYANIDE”

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องการที่จะสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ถึงความเท่าเทียม และความเสมอภาค หมดยุคสมัยและแนวคิดที่ว่า ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้าน ผู้ชายต้องเป็นเสาหลักของครอบครัว หรือแม้แต่การให้เกียรติกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันก็เป็นสิ่งที่ต้องยึดถือและปฏิบัติ 

“ไม่ว่าใคร ก็มีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตในแบบของตัวเอง”

แต่ทุกสิ่งทุกอย่างจะเท่าเทียมได้ เราต้องเข้าใจ และคนรอบข้างก็ต้องสนับสนุนด้วยเช่นกัน การร่วมงานระหว่าง บริษัท คิด คิด จำกัด และนักร้องมากความสามารถอย่าง CYANIDE จึงได้เริ่มต้นขึ้น.. 

CYANIDE
“CYANIDE” ศิลปินแร็ป-ฮิปฮอป

การสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่ศิลปินคือหน้าที่ของเรา และตัวศิลปินเอง ก็ได้เข้าใจถึงเรื่องราวของ SDG5 ได้อย่างถ่องแท้ จึงกลายมาเป็นบทเพลงที่เข้ามาช่วยให้เราสามารถเข้าใจ SDG ข้อที่ 5 Gender Equality ความเสมอภาคระหว่างเพศ ได้ง่าย ๆ ผ่านบทเพลงที่มีท่อนร้องติดหู 

“SDG5 คือเท่าเทียม” “SDG5 คือเท่าเทียม” 

เราจึงอยากเชิญชวนทุกคน มาร่วมรับฟังบทเพลงนี้ และเข้าใจเรื่องราวของความเท่าเทียม และความเสมอภาคไปด้วยกัน สามารถรับชมและรับฟังบทเพลงดังกล่าวได้ที่นี่:

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่
Facebook: KidKid Co.,Ltd
Website: คิดคิด / ECOLIFE
E-mail: [email protected]
Tel: 084-281-1451

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy