Back

ภัยแล้ง ผลกระทบด้านเกษตรกรรม ทำพริกขี้หนู ไข่ไก่แพง

ภัยแล้ง นับว่าเป็นภัยคุกคามด้านเกษตรกรรมที่หนักหนา และเกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะตั้งแต่ที่โลกเริ่มเข้าสู่ภาวะโลกร้อน สภาพอากาศและฤดูกาลต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งนับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ

ภัยแล้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในหลายพื้นที่ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่แสงแดดแรงและฝนน้อย หรือแม้แต่ในช่วงที่หลายพื้นที่ฝนตกชุ่มฉ่ำ แต่กับบางพื้นที่กลับไร้ซึ่งเม็ดฝน ปัญหาภัยแล้งส่งผลให้การเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน และการเลี้ยงสัตว์ต้องเผชิญกับความยากลำบากและผลผลิตที่ลดลง

ภัยแล้ง

ภัยแล้ง ผลกระทบต่อพริกขี้หนู

หนึ่งในพืชที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยแล้ง คือพริกขี้หนู พริกขี้หนูเป็นพืชที่ต้องการน้ำในการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดภัยแล้ง น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกมีน้อยลง ส่งผลให้พริกขี้หนูเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผลผลิตลดลง และคุณภาพของพริกที่ได้ต่ำกว่ามาตรฐาน

การขาดแคลนน้ำ ไม่เพียงแต่ทำให้พริกขี้หนูโตไม่เต็มที่ แต่ยังทำให้พืชมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และแมลงรบกวนมากขึ้น นอกจากนี้ ต้นพริกที่ได้รับน้ำไม่เพียงพอยังทำให้ผลผลิตมีขนาดเล็ก รสชาติเผ็ดน้อยลง และสีไม่สวยงามตามที่ตลาดต้องการ

ส่งผลให้ช่วงที่ผ่านมาพริกขี้หนูสวน มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 480-500 บาท ซึ่งมีราคาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ขณะที่พริกจินดา อยู่ที่กิโลกรัมละ 60- 80 บาท พริกหยวกอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งราคาพริกทุกชนิดมีราคาแพงขึ้นเป็นผลมากจากภาวะภัยแล้ง

ภัยแล้ง ทำพริกขี้หนูขึ้นราคา

ไข่ไก่แพงขึ้นจากภัยแล้ง

ภัยแล้งไม่เพียงแค่ส่งผลต่อพืชไร่เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อปศุสัตว์อีกด้วย โดยเฉพาะไก่ไข่ที่มีผลผลิตไข่เป็นรายได้หลักของเกษตรกร ภัยแล้งและอากาศที่ร้อนจัด ส่งผลให้ไก่มีสภาพแวดล้อม การเลี้ยงที่ไม่ดีและเกิดความเครียดเพิ่มขึ้น

ไก่ที่มีความเครียดจากสภาพอากาศ ที่ร้อนและการกระหายน้ำที่มากขึ้น จะส่งผลให้การผลิตไข่ลดลง ไม่เพียงเท่านั้น ราคาอาหารสัตว์ยังเพิ่มขึ้น เนื่องจากพืชอาหารสัตว์เอง ก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่สูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ในตลาดปรับตัวสูงขึ้น

จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับราคาไข่ขึ้นแผงละ 6 บาท หรือฟองละ 20 สตางค์ ขณะที่ราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม น้ำหนัก 20.5 กก.ขึ้นไป จากปัจจุบันอยู่ที่ฟองละ 3.80 บาท เป็นฟองละ 4 บาท นับเป็นการปรับขึ้นรอบ 3 จากครั้งแรกวันที่ 17 เมษายน 2567 ครั้งที่ 2 วันที่ 29 เมษายน 2567

ไข่ไก่แพงขึ้นจากภัยแล้ง

การจัดการและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

การเผชิญกับภัยแล้ง เป็นความท้าทายที่เกษตรกรต้องรับมืออย่างต่อเนื่อง โดยการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

  1. การใช้ระบบชลประทานที่ทันสมัย การเก็บน้ำฝน และการจัดการแหล่งน้ำใต้ดิน นอกจากนี้ การเลือกปลูกพืชที่ทนต่อสภาพแล้งหรือการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพอากาศยังเป็นทางออกที่ช่วยลดผลกระทบจากภัยแล้งได้
  2. สำหรับการเลี้ยงสัตว์ การสร้างร่มเงาและแหล่งน้ำสำรอง การให้อาหารที่มีคุณภาพ และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับสัตว์เลี้ยงสามารถช่วยลดความเครียดและเพิ่มผลผลิตได้

ภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ ที่มีผลกระทบมากต่อการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกพริกขี้หนูและการผลิตไข่ไก่ การจัดการและปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงจะช่วยลดผลกระทบจากภัยแล้งและทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน

ขณะเดียวกัน การร่วมกันจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อย่างง่าย ๆ เช่นการแยกขยะ ก็สามารถช่วยให้โลกของเรา มีการปล่อยคาร์บอนที่น้อยลง เป็นส่วนที่ช่วยให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่น้อยลงอีกด้วย 

ดังนั้นแล้ว การแก้ไขปัญหาที่ปลายทางคือสิ่งที่ช่วยพยุงให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ แต่การร่วมกันแก้ปัญหาที่ต้นทางต่างหาก คือสิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาเหล่านั้น ถูกจัดการอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

✨โหลด ECOLIFEapp เพื่อเข้าร่วมเป็นชาว ECO ได้ที่ :

👉🏻iOS download: https://apple.co/3tNdnZF

👉🏻Android download: https://bit.ly/3LqkCMO

ติดตามข้อมูลข่าวสารของ คิดคิด และ ECOLIFE ได้ที่

Facebook: ECOLIFE

Website: คิดคิด / ECOLIFE

KIDKID
KIDKID

This website stores cookies on your computer. Cookie Policy